สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป (GenEd) คณะศิลปศาสตร์ ดำเนินการปรับโครงสร้างและปฏิรูปหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะคนและสังคมที่จำเป็นต่อการทำงาน (Essential Skills) ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย และความต้องการของผู้ประกอบการทางด้าน Soft Skills โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งผู้เรียนทุกคนจะต้อง “รู้และทำได้” การันตีผลการเรียนรู้ในแต่ละโมดูล และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะตามแนวทาง Integrated Liberal Arts Education
จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์ (OBEM) เพื่อพัฒนาอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของ มจธ. ด้านการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการทำงาน (On the Job training) ให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Integrated Liberal Arts Education จำนวน 2 รุ่น ระหว่างวันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 -16.30 น. และวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้อง SoLA 204 ชั้น 2 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้เข้าร่วมอบรมฯ ประกอบด้วย อาจารย์และบุคลากรภายใน มจธ.จากหลากหลาย คณะ รวม 2 รุ่น 80 คน ทั้งนี้ได้เรียนเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านการจัดการเรียนรู้รูปแบบ OBE ร่วมอบรมให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯแบบเข้มข้น โดยกิจกรรมการอบรมประกอบด้วย การบรรยายพร้อมกิจกรรมฝึกปฏิบัติ 4 กิจกรรม และปิดท้ายด้วยการนำเสนอผลงาน ซักถามข้อสงสัยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
หัวข้อการบรรยาย :
- นโยบายการจัดการศึกษาเชิงผลลัพธ์แบบหน่วยการเรียนรู้ย่อย (Outcome-based Learning Module) อิงตามสมรรถนะ (Competence)
ผศ. ดร.ภาณุทัต บุญประมุข (รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้) - กรอบแนวคิดการเชื่อมโยงผลลัพธ์การเรียนรู้หน่วยย่อย (OBEM) ไปสู่การยกระดับสมรรถนะของผู้เรียนในระบบ KMUTT 4 Life
ดร.กลางใจ สิทธิถาวร (ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา) - นิยามของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและกรอบผลลัพธ์การเรียนรู้หมวดวิชาศึกษาทั่วไปของ มจธ. (KMUTT-GELOs) และ Sub-GELOs ตลอดจนความเชื่อมโยงของผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชาหรือระดับหน่วยเรียนรู้ กับ GELO และ Sub-GELOs
อาจารย์สุพรรษา ประสงค์สุข (หัวหน้าสำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป)
อาจารย์ปาณเลิศ ศิริวงศ์ (รองหัวหน้าวิชาสำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป) - การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ (Evidence of Learning) ที่ตอบผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหน่วยเรียนรู้ (MLOs)
ผศ. ดร.ชเนนทร์ มั่นคง (รองคณบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษา คณะศิลปศาสตร์) - การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning & Teaching Methods) ที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้ (MLOs) และหลักฐานการเรียนรู้
ผศ. ดร.กฤติกา ตันประเสริฐ (ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้)
ทีม Coach และ Facilitator :
- ผศ.ดร. ศศิธร สุวรรณเทพ
- ผศ.ดร. ภาณุทัต บุญประมุข
- ผศ.ดร. ชเนนทร์ มั่นคง
- ผศ.ดร. กฤติกา ตันประเสริฐ
- อาจารย์ปาณเลิศ ศิริวงศ์
- ดร. กลางใจ สิทธิถาวร
- อาจารย์สุพรรษา ประสงค์สุข
- คุณทรงเกียรติ วิโรจน์กูลทอง
- คุณวรรณชร ไชยเดช
- คุณเรวัติ อยู่สุข
- คุณรสิตา รักสกุล
- คุณกิตติภรณ์ สัจจยานุกูล
- ดร. ศกลวรรณ นภาพร
- คุณรวิภัค ปรีชากุลดำรงค์
- คุณนวพร นรารัตนกุล
- คุณศิรินันท์ เอื้อนไธสงค์
- คุณภรัณยู โรจนสโรช