ผลสะท้อนกลับจากการพัฒนาอาจารย์พิเศษด้วยรูปแบบการสอนแบบทักษะปฏิบัติ ในรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรณีศึกษา: การพัฒนาอาจารย์ด้วยกิจกรรมการลอกลาย

The Reflection of Instructors Development by Using Practical Skills Instructional in Course of General Education, King Mongkut’s University of Technology Thonburi A Case Study of Teacher Development by Copy the Pattern

ชเนนทร์ มั่นคง, รสิตา รักสกุล, และ เรวัติ อยู่สุข
Chanen Munkong, Rasita Raksakul, and Rawat Yoosuk
สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Office of General Education, School of Liberal Arts, King Mongkut’s University of Technology Thonburi

บทคัดย่อ

การพัฒนาอาจารย์ให้ยอมรับวิธีการสอนใหม่ไปใช้พัฒนาทักษะทางปัญญาเป็น ความท้าทายของสำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการขับเคลื่อนการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ บทความวิจัยนี้นำเสนอแนวคิดในการพัฒนาอาจารย์ ที่ได้จากการศึกษาผลสะท้อนกลับที่รับจากผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการจานวน 58 คน ได้ผ่านการลงมือฝึกปฏิบัติการเรื่อง การสอนทักษะทางปัญญาด้วยวิธีการสอนตามลำดับขั้นฐานทักษะ โดยใช้กิจกรรมการลอกลายเป็นสื่อการสอน คณะวิจัยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) จากนั้นนาข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) ในประเด็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ในมุมมองเนื้อหา การพัฒนาด้านทักษะ และทัศนคติที่เกิดขึ้นกับกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ตรงในเชิงกระบวนการ ได้รับการตอบรับดีมากจากอาจารย์ที่เข้าร่วมการอบรม การใช้กลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถ กระตุ้นให้เกิดการประยุกต์ปรับใช้แนวคิดในการสอนได้ ในการจัดกิจกรรมพัฒนาอาจารย์ มีกลไกที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการอบรม ได้แก่ ปฏิกิริยาของผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้สิ่งใหม่ ลักษณะของวิธีการสอนที่ให้ประสบการณ์ตรง และเทคนิคที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะการสอนให้อาจารย์

คำสาคัญ: พัฒนาอาจารย์ ทักษะการสอน ประสบการณ์ตรง การฝึกซ้า

Abstract

Convincing and training instructors to adopt new methods of teaching cognitive skill, is a challenge for General Education Office at King Mongkut’s University of Technology Thonburi. This research article presents a conceptual framework for instructor development that derived from an analysis of the reflections from 58 participants in a workshop: how to teach cognitive skill with skill-based learning approach. It used Tracing activity as a learning tool. The research team used participatory observation, content analysis and analytic induction. The result unveils the positive impact of direct experience, in terms of the process. The activity was very well received by the participants. The new method was adopted by all at the end of the workshop. Feedback and sharing were a key mechanism in stimulating adapting the new knowledge to their teaching tasks. From participants’ viewpoints, when designing a teaching competence development workshop, the designers should understand 1 ) meanings of participants reactions when adopting new knowledge; 2) ways in which direct experiences can be delivered; and 3) techniques in improvement of teaching skills.

Key words: Instructor development, Teaching skill, direct experience, cycle of expertise.

Authors

  • รสิตา รักสกุล

    [Researcher]

    เรามุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์กว้างไกล เข้าใจธรรมชาติตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี

    View all posts นักพัฒนาการศึกษา
  • เรวัติ อยู่สุข

    [Researcher]

    เรามุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์กว้างไกล เข้าใจธรรมชาติตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี

    View all posts นักพัฒนาการศึกษา