สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ Generation Z เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายท่านต่างให้ความเห็นว่า คนรุ่นนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน ๆ อย่างชัดเจน ส่งผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ การทำงาน รวมไปถึงมุมมองต่อชีวิตและสังคม

Key Takeaway นี้นำเสนอข้อมูลเพื่อให้เข้าใจผู้เรียน Gen Z ในด้านต่าง ๆ พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับตัวของบุคลากรทางการศึกษา Generation Gap ระหว่างวัย เพื่อพัฒนาการสื่อสารและการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน

Gen Z : บริบทและลักษณะเฉพาะ

  1. เทคโนโลยีและ Social Media: เติบโตมาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จึงมีความคุ้นเคยกับการใช้งาน Internet และ Social Media เป็นอย่างดี โดยเฉพาะแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น Instagram และ TikTok ซึ่ง Gen Z เลือกใช้เป็นช่องทางหลักในการรับข้อมูลข่าวสาร ค้นหาข้อมูล รวมไปถึงการติดต่อสื่อสาร
  2. พฤติกรรมการใช้จ่าย: เน้นการใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของตนเอง (Personalization) ให้ความสำคัญกับประสบการณ์และความพึงพอใจส่วนบุคคล (Individualism) มีความสนใจเรื่องการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Cryptocurrency มากกว่าการออมเงินในรูปแบบเดิมๆ
  3. รูปแบบครอบครัว:  เกิดในครอบครัวขนาดเล็ก มีจำนวนพี่น้องไม่เกิน 2 คน เป็นยุคที่อัตราการมีบุตรลดลง พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรหลานอย่างใกล้ชิด และจัดการทุกอย่างให้จนเกินพอดี (Helicopter Parenting)
  4. การสื่อสาร: Gen Z เป็น Digital Native จึงถนัดการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าการพูดคุยแบบพบหน้า พบว่า Gen Z ไม่นิยมรับโทรศัพท์ แต่จะเลือกใช้การสื่อสารด้วยข้อความหรือ Direct Message แทน นอกจากนี้ ยังใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม ที่คนรุ่นอื่นอาจไม่เข้าใจด้วย
  5. แนวคิดเกี่ยวกับการทำงาน: Gen Z ต้องการความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด (Fast track) ให้คุณค่ากับความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible Working) และความเป็นอิสระ มีแนวโน้มที่จะเลือกทำงานรูปแบบใหม่ ๆ เช่น Freelance, Influencer, YouTuber หรือ Streamer
  6. สุขภาพจิต: Gen Z เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ทั้งภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล แต่อย่างไรก็ตาม คนรุ่นนี้เปิดกว้างและยอมรับปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น มองว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ได้

การปรับตัวเพื่อการทำงานร่วมกับ Gen Z

  • การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชัน บริบททางสังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกันของคนแต่ละเจเนอเรชัน เป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัว
  • การใช้ภาษาและช่องทางการสื่อสารที่ Gen Z คุ้นเคย ตรงไปตรงมา กระชับ และชัดเจน หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะกลุ่มที่อาจสร้างความไม่เข้าใจ เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • การเปิดโอกาสให้ Gen Z ได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ และรับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อให้นักศึกษารู้สึกว่าได้รับความใส่ใจและเข้าใจ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย
  • แม้ว่า ความยืดหยุ่นและการเปิดกว้างเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ควรกำหนดกฎเกณฑ์ขอบเขต (Boundary) ที่ชัดเจน เช่น ช่วงเวลาในการทำงาน วิธีหรือช่องทางการติดต่อสื่อสาร  เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
  • นอกจากนี้ การพัฒนาระบบสนับสนุนด้านสุขภาพจิตก็มีความสำคัญ มหาวิทยาลัยควรสร้างระบบการให้คำปรึกษาและดูแลสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษา เพื่อรองรับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น เรื่องการเรียน ความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อน ความรัก เป็นต้น

ข้อเสนอแนะในการสื่อสารกับ Gen Z

  • “ฟังอย่างตั้งใจ” (Empathic Listening) รับฟังด้วยความเข้าใจ (Empathy) จะทำให้นักศึกษา Gen Z รู้สึกได้รับความเคารพ และเปิดใจสื่อสารมากขึ้น
  • เปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น กระตุ้นให้ Gen Z มีส่วนร่วมในชั้นเรียน ได้แชร์ประสบการณ์และความรู้ของตนเอง
  • Gen Z เป็น Visual Learner การสอดแทรกเรื่องราว ตัวอย่าง ด้วยเทคนิค Story Telling ประกอบการสอนจะช่วยดึงดูดความสนใจ
  • การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ โดยใช้ Social Media Platform ต่าง ๆ ที่ Gen Z ใช้งาน
  • สร้างข้อตกลงร่วมกัน (Compromise) เปิดโอกาสให้ Gen Z มีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์
  • ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญประสานงานกับนักจิตวิทยา หรือ Counseling Center เมื่อนักศึกษามีปัญหาด้านสุขภาพจิต

 

ประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติม

  • Reasonable accommodation เป็นแนวคิดที่มุ่งสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา (Education Equity) สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ มหาวิทยาลัยอาจจะจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือบุคคล เช่น Reader สำหรับผู้พิการทางสายตา Note taker เป็นต้น
  • KMUTT Clinic เป็นศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยนักจิตวิทยาบริการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาและบุคลากร

การปรับตัวเข้าหา Gen Z นับเป็นความท้าทายของบุคลากรทางการศึกษาในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตามความพยายามในการทำความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสาร รวมไปถึงการสร้างระบบสนับสนุน จะนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และ สร้างบรรยากาศที่ดีในในการเรียนรู้

Remark: บทความนี้ ถอดสาระสำคัญจาก โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเตรียมความพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมเพื่อให้เข้าใจและรู้วิธีการรับมือช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) ของอาจารย์กับนักศึกษายุคปัจจุบัน” วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องส่งเสริมการเรียนรู้สู่สังคมแห่งปัญญา (Learning cafe) ชั้น 3 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Authors

  • เรวัติ อยู่สุข

    [Writer]

    เรามุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์กว้างไกล เข้าใจธรรมชาติตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี

    View all posts นักพัฒนาการศึกษา
  • นฤมล ชินธนไพศาล

    [Infographic]

    เรามุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์กว้างไกล เข้าใจธรรมชาติตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี

    View all posts นักพัฒนาการศึกษา